หมวดหมู่: น้ำมัน-แก๊ส

OIL49


ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัว แม้โอเปกพลัสขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิต

 แต่สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 15 มิถุนายน 2563

                

ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 34-39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 36-41 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                                                                                                                               

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (15 –19 มิ.ย. 63)

       ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัว แม้กำลังการผลิตน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังกลุ่มโอเปกและพันธมิตร (กลุ่มโอเปกพลัส) มีข้อตกลงที่จะขยายระยะเวลาลดกำลังการผลิต 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดในเดือน มิ.ย. 63 ออกไปเป็นสิ้นสุดเดือน ก.ค. 63 พร้อมเพิ่มความเข้มงวดในการปรับลดกำลังการผลิตของประเทศสมาชิกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดยังมีปัจจัยกดดันจากผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่เริ่มมีแผนจะกลับมาผลิตมากขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้ง ปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังประจำสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรล                              

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

           อุปทานน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง หลังล่าสุดในเดือน พ.ค. 63 การผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปก 10 ประเทศสมาชิก (ไม่รวมอิหร่าน เวเนซุเอลา และลิเบีย) ปรับลดลงไปราว 8.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปอยู่ที่ระดับ 21.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้ การประชุมเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. กลุ่มโอเปกพลัสมีข้อตกลงที่จะขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตที่ระดับ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ออกไปอีก 1 เดือน ไปสิ้นสุดในเดือน ก.ค. 63 และเน้นให้มีการเข้มงวดเรื่องการปรับลดกำลังการผลิตของบางประเทศสมาชิก เช่น ไนจีเรีย และอิรัก ที่ยังได้ไม่ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการปรับลดการผลิตในเดือนที่ผ่านมาให้ต้องมีการลดการผลิตชดเชยในเดือนถัดไป

           จับตาการประชุมของกลุ่มโอเปกในวันที่ 18 มิ.ย. 63 ที่จะมีการพิจารณาร่วมกันอีกครั้งถึงแนวทางการปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มหลังจากเดือน ส.ค. เป็นต้นไป ที่เดิมกำหนดไว้ว่าจะปรับลดการผลิตในช่วงเดือน ส.ค. – ธ.ค. 63 ที่ระดับ 7.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยตลาดเชื่อมั่นว่าการขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตจะช่วยชดเชยอุปสงค์น้ำมันที่หายไป และส่งผลให้ตลาดน้ำมันเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้น

           การผลิตน้ำมันดิบของลิเบียที่มีแนวโน้มไม่แน่นอน หลังล่าสุดลิเบียต้องปรับลดการผลิตน้ำมันดิบลงกะทันหันในวันที่ 9 มิ.ย. 63 เนื่องจากเกิดเหตุสุดวิสัยจากการถูกกองกำลังติดอาวุธปิดแหล่งผลิตน้ำมัน El Sharara ที่มีกำลังผลิตน้ำมันดิบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน หลังจากเพิ่งกลับมาดำเนินการผลิตได้เพียง 4 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้หยุดดำเนินการมานานเกือบ 5 เดือน

           ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ประกาศจะปรับลดการผลิตน้ำมันดิบตามข้อตกลงของกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรเท่านั้นในเดือน ก.ค. 63 หลังก่อนหน้านี้ ทั้งสามประเทศอาสาที่จะปรับลดการผลิตเพิ่มเติมในปริมาณที่สูงกว่าข้อตกลงในเดือน มิ.ย. 63 รวมทั้งสิ้นกว่า 1.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน

           ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เริ่มมีแผนที่จะกลับมาผลิตเพิ่มมากขึ้น หลังราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดว่ากำลังการผลิตของสหรัฐฯ ในเดือน มิ.ย. 63 จะลดลงเพียง 1.30 - 1.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่คาดว่าจะลดลงกว่า 1.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน

           ปริมาณน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ สัปดาห์สิ้นสุด 5 มิ.ย. 63 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบที่จัดซื้อจากซาอุดิอาระเบียในช่วงสงครามราคาเดือน มี.ค. – เม.ย. 63 นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลคงคลังในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มสูงขึ้น 0.87 ล้านบาร์เรล และ 1.6 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ โดยการปรับเพิ่มดังกล่าวสวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะปรับตัวลดลง

           เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซนเดือน พ.ค. 63 จำนวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ กำลังการผลิตด้านอุตสาหกรรมจีนเดือน พ.ค. 63 และยอดค้าปลีกจีนเดือน พ.ค. 63

 1aaaBoil15

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 - 12 มิ.ย. 63)

    ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 3.29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 36.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สำหรับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 3.57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 38.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 38.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดยตลาดกังวลถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะกลับมาแพร่ระบาดรอบสองในสหรัฐฯ หลังจำนวนผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสูงถึง 2 ล้านราย และอาจกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมัน

     อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนหลังกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรตกลงขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 9.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ออกไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ค. 63 รวมทั้งกำลังการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงต่อเนื่อง โดยบริษัทเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการใช้งานในสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 63 ลดลง 16 แท่น สู่ระดับ 206 แท่น

     นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เผยว่าพร้อมที่จะใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีอย่างเต็มรูปแบบในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อยู่ในภาวะชะลอตัว ภายหลังคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ได้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 0.00-0.25% ในการประชุมที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. และจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันอย่างน้อยจนถึงปี 2565

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!